053-776-000

ประเภทโครงการ: สิ่งแวดล้อม

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนด้านการพัฒนาเมืองแม่สาย เพื่อรองรับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัย ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย

วันที่ 12 และ 13 มีนาคม 2568 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ แก้วตาติ๊บ ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการสำนักยุทธ์ศาสตร์ฯ ดำเนินการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนด้านการพัฒนาเมืองแม่สาย เพื่อรองรับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัย ณ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย

โดยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนด้านการพัฒนาเมืองแม่สาย เพื่อรองรับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัย ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีแกนนำเยาวชนต้นแบบด้นการพัฒนาเมืองแม่สาย พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนดังกล่าว ให้มีความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาเมืองแม่สายด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมบนฐานทรัพยากรชุมชน และเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมของแกนนำเยาวชนต่อโครงการพัฒนาเมืองแม่สาย เพื่อรองรับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ทุกช่วงวัย

ในช่วงเช้าบรรยายเชิงปฏิบัติการ “ทุนชุมชนทางประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมเมืองแม่สาย” โดยนายสมพล ธาตุอินจันทร์ รองปลัดเทศบาลตำบลแม่สาย  ซึ่งได้บรรยายถึงประวัติศาสตร์ ความเชื่อ เรื่องเล่า ภาษา อาหาร ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของแม่สาย และลำดับถัดไปเป็นการบรรยายเชิงปฏิบัติการ “หลักการสืบค้นทุนชุมชนโดยใช้เครื่องมือศึกษาชุมชน” โดย อาจารย์วรัญญา พรหมสาขา ณ สกลนคร โปรแกรม แขนงวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้แบ่งกลุ่มให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ และสืบค้นทุนชุมชนโดยใช้เครื่องมือศึกษาชุมชนจากที่วิทยากรได้ให้ความรู้ไป และนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาเมืองแม่สายบนฐานทุนชุมชน และได้ให้กลุ่มแกนนำเยาวชนในแต่ละกลุ่ม นำข้อมูลที่วิเคราะห์มาได้นำเสนอให้กับวิทยากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฟัง

โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทางสำนักฯ ได้รับเกียรติจาก นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย เป็นประธานในการเปิดการอบรม อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นผู้กล่าวรายงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม และมีกลุ่มแกนนำเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 44 คน คณะผู้บริหารจากสำนักงานเทศบาลตำบลแม่สาย คณะครูจากโรงเรียนในพื้นที่ตำบลแม่สาย และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 78 คน          

การประชุมติดตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ นำโดยอาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย จัดกิจกรรมประชุมติดตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2568 ไตรมาสที่ 1และ 2

โดยมีหัวหน้าโครงการฯ จากคณะ/หน่วย เข้าร่วมรายงานโครงการที่สำคัญทั้งสิ้น จำนวน 9 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก หน่วยงานดำเนินโครงการทั้งสิ้น จำนวน 7 คณะ 1 หน่วยงาน โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ หน่วยงานดำเนินโครงการทั้งสิ้น จำนวน 4 คณะและโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 7 โครงการ หน่วยงานดำเนินโครงการทั้งสิ้น จำนวน 3 คณะ 3 หน่วยงาน

การรายงานในภาคเช้าประกอบไปด้วยโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ คณะ/หน่วยงานได้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด โดยใช้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญตามองค์ความรู้ของคณะและบูรณาการไขว้ศาสตร์ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมาย

ในภาคบ่ายเป็นการรายงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประกอบไปด้วยโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัมนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการยกระดับชุมชนสู่สากล โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

ในการรายงานติดตามครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดี เป็นประธานการประชุมติดตามโครงการยุทธศาสตร์ฯ และที่ปรึกษาอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณิดา ปิงเมือง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ลี้ตระกูลร่วมให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2568

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2568 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งมีกำหนดการตรวจเยี่ยมระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2568

พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่วัดเวียงเชียงรุ้ง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานในหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มมูลค่าอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าปักของชาติพันธุ์อิ้วเมียน ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ด้านสังคมด้วยการส่งเสริมระบบสุขภาพจิต ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน และด้านการศึกษา โดยโครงการชุมชนดิจิทัล(Digtal Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21

ภายหลังจากการตรวจเยี่ยมโครงการต่างๆ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ยังได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่รวบรวมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่ไว้อย่างครบถ้วน

Chiang Saen Soft Power Fun Run

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ แก้วตาติ๊บ ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการฯ นำบุคลากรสำนักฯ เข้าร่วมกิจกรรม เดิน วิ่ง ริมฝั่งโขง ยลโฉมเมืองโบราณเชียงแสน Chiang Saen Soft Power Fun Run 2025 โดยมีนายคฑาสิทธิ์ เนื่องหล้า นายอำเภอเชียงแสน เป็นประธานเปิดกิจกรรม ณ ลานหน้าที่วาการอำเภอเชียงแสน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงและนำเสนอความสวยงามทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณสถานและความเป็นเมืองชายแดนของเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่อำเภอเชียงแสนริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งมีเส้นทางรอบเมืองโบราณระยะ 6 กิโลเมตร

ประชุมเตรียมชี้แจงการรายงานผลการดำเนินงาน

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ แก้วตาติ๊บ ผู้ช่วยอธิการบดี จัดประชุมเตรียมชี้แจงการรายงานผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก และ โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ 4 ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ประจำปี 2567 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ลี้ตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณิดา ปิงเมือง ที่ปรึกษาอธิการบดี และหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคโนโลยีดิจิทัล และสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมข้อมูลนำเสนอผลงานและการจัดบูธแสดงผลงานของโครงการทั้ง 4 ประเด็นสำคัญ ซึ่งจะมีการจัดแสดงและนำเสนอผลงานให้เกิดขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 ณ วัดเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

การปลูกแตงโมอินทรีย์ให้มีคุณภาพ

วิสาหกิจชุมชนมอกกำปอ ตำบลแม่คำ อำเภอเม่จัน จังหวัดเชียงราย อบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะปลูกแตงโมระบบอินทรีย์โดยมีวิทยากร คุณปริชาติ ทองบัวร่วง ที่ปรึกษาเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากลให้กับเกษตรกรภาคเหนือและภาคอีสานและเจ้าของบริษัท เชียงราย ออร์แกนิค เฮ้าส์ จำกัด บรรยายแนวทางให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ

การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะปลูกแตงโมอินทรีย์ให้มีคุณภาพวิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ได้แก่ ปฏิทินการเพาะปลูก การบริหารจัดการพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม และการใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ เพื่อควบคุมโรคทางการเกษตรก่อนให้เกษตรกรได้ลงมือปฏิบัติจริงในแปลง

ประชุมพัฒนาหลักสูตรปลานิลครบวงจร

วันที่ 17 ธันวาคม 2567 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ จัดประชุมพัฒนาหลักสูตรปลานิลครบวงจร โดยมีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และผู้แทนจากหน่วยงาน นายวิทยา มะสะ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย นางสาวสุรีวรรณ์ สุริยวงศ์ นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลดอยงาม รวมทั้งสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลบ้านท่าดอกแก้ว เข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทเรียนจากการทำงานถ่ายทอดองค์ความรู้และยกร่างเป็นหลักสูตรที่จะพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปลานิลเศรษฐกิจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมในการให้บริการผู้สนใจความรู้เกี่ยวกับปลานิล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ แก้วตาติ๊บ ผู้ช่วยอธิการบดีเป็นประธานในที่ประชุมและอาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย พร้อมด้วยบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ร้านอาหารภูพันธ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การวางแผนการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรชุมชนสู่การเป็นแหล่งส่งเสริมสุขภาพชุมชน ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ นำโดย อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ปินตาคำ ประธานสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ลงพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวางแผนการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรชุมชนสู่การเป็นแหล่งส่งเสริมสุขภาพชุมชน ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลพญาเม็งราย

ในการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การวางแผนการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรชุมชนสู่การเป็นแหล่งส่งเสริมสุขภาพชุมชน ในครั้งนี้ได้ดำเนินการวางแผนงานและชี้แจงเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการจัดกิจกรรม DayCare การดูแลผู้สูงอายุ และการวางแผนพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรชุมชนสู่การเป็นแหล่งส่งเสริมสุขภาพชุมชน ผลการดำเนินกิจกรรม สำนักยุทธศาสตร์ได้ลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจพื้นที่และวางแนวทางร่วมกับผู้บริหาร เทศบาลตำบลพญาเม็งราย นักพัฒนาชุมชน กลุ่มงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลพญาเม็งราย ในการเพาะปลูกสมุนไพรชุมชนสู่การส่งเสริมสุขภาพชุมชม ณ วัดม่อนป่ายาง

กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรปลานิลเศรษฐกิจชุมชนโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคเครือข่าย ตำบลดอยงาม อำเภอพาน

วันที่ 28 ตุลาคม 2567 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ นำโดย อาจารย์ ดร.ชฎาพัฐศ์ สุขกาย ผู้อำนวยการฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กนกวรรณ ปลาศิลา อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ ลงพื้นที่โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรปลานิลเศรษฐกิจชุมชนโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคเครือข่าย ณ แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลบ้านท่าดอกแก้ว ตำบลดอยงาม อำเภอพานจังหวัดเชียงราย

การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรปลานิลเศรษฐกิจชุมชนและหาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรปลานิลเศรษฐกิจชุมชนโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคเครือข่าย ผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมสมาชิกกลุ่มปลานิลสามารถเป็นนวัตกรชุมชนและได้เรียนรู้บทบาทในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้ามาเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ พร้อมกับแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและความร่วมมือของเครื่อข่ายภายในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย

อบรมเชิงปฏิบัติการ “ถ่ายทอดนวัตกรรมปลานิล : เศรษฐกิจชุมชนด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต พื้นที่ตำบลดอยงาม”

วันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2567 สำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดยอาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ถ่ายทอดนวัตกรรมปลานิล : เศรษฐกิจชุมชนด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต พื้นที่ตำบลดอยงาม” ณ แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลานิล หมู่ที่ 5 บ้านท่าดอกแก้ว ตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

กิจกรรมดังกล่าวมีผู้ประกอบการเข้าร่วม จำนวน 45 คน โดยวันที่ 29 มิถุนายน 2567 ได้รับเกียรติจากนายวิทยา มะสะ นักวิชาการประมงชำนาญการ จากสำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ถ่ายทอดข้อกำหนดมาตรฐาน GAP ปลานิล และการยื่นคำขอเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม ผศ.ประเสริฐ ไวยะกา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณพรสวรรค์ ผลมาก วิทยากรชุมชนบรรยายและฝึกปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพน้ำบ่อเลี้ยงปลานิล ผศ.ดร.จรัญ คนแรง อาจารย์นเรศ ใหญ่วงศ์และคณะจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับคุณสรชัย ผลมากวิทยากรชุมชน ฝึกปฏิบัติการสร้างนวัตกรรมกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ได้รับเกียรติจาก รศ.มาลี หมวกกุล ผศ.กนกวรรณ ปลาศิลาและคณะจากคณะสังคมศาสตร์ ฝึกปฏิบัติการแปรรูปอาหารจากปลานิล และผศ.ดร.สุภัทรณี เปี่ยมสุวรรณกิจ ร่วมกับคุณสุทัศน์ อุตตา วิทยากรชุมชน ร่วมถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติการทำบอลลูนแก๊ส

ซึ่งผลการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทักษะตามหลักสูตรที่หน่วยงานได้จัดกิจกรรมและผู้ที่สนใจสามารถนำไปต่อยอดเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาปลานิลน็อคน้ำ